Rational  Prescription  For  Hypercholesterolemia

Using  PBL  And  EBM  Approach

Robbear7 Website Designs

Robbear7 Website Designs

 

 

Index

Preface

Case Scenario

Information

Other Drugs

Indication

Efficacy

Risk

Cost

Prescription

Pat Edu & FU

Rx Conclusion

Conclusion

References

พิจารณาข้อบ่งชี้ในการใช้ยา (indication)

1.1 หลักฐานที่สนับสนุนว่าผู้ป่วยเป็นโรค Primary (Polygenic)

      Hypercholesterolemia (or  HLP  type 2a) 2(1),31(1)

1) ผู้ป่วยรายนี้เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Dyslipdemic  โดยกำลังทานยา gemfibrozilอยู่  โดยไม่มีประวัติการใช้ยาหรือโรคที่น่าจะเป็นสาเหตุของ hypercholesterolemia  จึงน่าจะเป็น primary  hypercholesterolemia  และเนื่องจากผู้ป่วยมีเพียงระดับ LDL ที่สูง  จึงน่าจะเป็นHPL 2a

2) มีระดับ total  cholesterol ในเลือด 274 mg/dl  ซึ่งตาม NCEP  ATP III  จัดอยู่ในระดับ  High

Total  cholesterol  (mg/dl)

            <  200                      Desirable

            200 – 239                Border  high 

            >  240                      High

3) มีระดับ LDL - cholesterol  ในเลือด 202.2  mg/dl  ซึ่งตาม NCEP  ATP III 27 จัดอยู่ในระดับ Very  High

LDL – cholesterol  (mg/dl)

                            < 100                       Optimal

                            100-129           Near  Optimal / Above  optimal

                            130-159           Border  high

                            160-189           High

                            ³ 190                       Very  high      

นอกจากนี้ยังมี 10 year-risk  for  CHD  ตาม Framingham  Table  เท่ากับ 25%

โดยผู้ป่วยมี risk ของการเกิด CHD ได้แก่เพศชาย , อายุมาก(65ปี) , เป็นโรคความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง

4) จาก New  Zealand  guideline  on  management  of  dyslipidemia  and  raise  blood  pressure  from  BMJ  พบว่า

ผู้ป่วยรายนี้มีอายุ 65 ปี  Total  cholesterol/HDL = 274/44 = 6.22 , Bp = 148/86 mm Hg ได้ moderate  5-year  CVD  risk  คือประมาณ 15-20%

1.2  สาเหตุและกลไกของการเกิดโรค 5(2),16(2),19(1),34(1)

ภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติ อาจเกิดจากสาเหตุ 3 ประการ คือ

            1) ภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ชนิด primary

            2) ภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ชนิด secondary

            3) ภาวะความปกติของระดับไขมันในเลือดจากอาหาร (dietary  dyslipidemia)

Primary  dylipidemia ภาวะนี้เป็นความผิดปกติจากสาเหตุทางพันธุกรรม  โรคที่พบบ่อยในกลุ่มนี้ คือ polygenic  hypercholesterolemia , familial  combined  hyperlipidimia , familial hypercholesterolemia (FH) และ familial  defective  apo  B100

Secondary  dylipidemia  ภาวะนี้เกิดจากโรคทางกาย หรือยาบางชนิดที่มีผลต่อขบวนการสร้างและสลาย lipoprotein  ทำให้ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ  สาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ cholesterolในเลือดสูง  ได้แก่ hypothyroidism , cholestasis , neprotic  syndrome , obstructive  liver  disease , Anorexia  nervosa , ยา progestogen  บางชนิด และ thiazide เป็นต้น

Dietary  dyslipidemia  การบริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดภาวะ LDL-C ในเลือดสูงคือ อาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก  ได้แก่  กะทิ  หมูสามชั้น  เนยเหลว  เนยเทียมแข็ง  เนื้อสัตว์  ไส้กรอก  เป็นต้น  และ/หรือรับประทานอาหารที่มี Cholesterol สูงได้แก่ ไข่แดง  เครื่องในสัตว์  อาจจัดกลุ่มนี้อยู่ในกลุ่ม primary  dyslipidemia

จากที่เราวินิจฉัยโรคนี้ว่าเป็น primary  hypercholesterolemia ชนิด Polygenic  Hypercholesterolemia  พบว่ามีกลไกการเกิดโรคดังนี้

โรคนี้เป็นโรค hypercholesterolemia ที่พบได้บ่อยที่สุดโดยพบว่ามี blood  cholesterol อยู่ระหว่าง 240-350 mg/dl  สาเหตุเริ่มต้นเป็น polygenic  Multiple  gene และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (multifactorial)  มีผลในการเกิดโรคนี้  โดยพบว่ามีทั้งการผลิตที่มากเกินไปของ LDL และลดการ catabolism ของ LDL-C อีกด้วย  ส่วนความรุนแรงของโรคอาจเพิ่มขึ้นโดยการกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและ cholesterolสูง , อายุและ Physical  activity  โดยโรคมีจะมีระดับ plasma  TG  และ HDL ปกติ

นอกจากนี้ gene  อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับ metabolism ของ cholesterol และ bile  acid  

1.3 การดำเนินของโรคเป็นอย่างไรถ้าไม่ได้รับการรักษา                                     

                   (โรคนี้หายเองได้หรือไม่ ) 20(1),32(1)

เนื่องจากจริงๆแล้วผู้ป่วยรายนี้เป็นทั้งโรค Hypercholesterolemia  และ Hypertension    โดยทั้ง 2 โรคนี้ไม่สามารถหายเองได้  รวมทั้งถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดผลตามมามากมาย  ซึ่งทั้ง 2 โรคนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันจึงจะขอกล่าวรวมกัน

ทั้งโรค    Hypertension และ Hypercholesterolemia  เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของ cordiovascular  disease  ทั้ง coronary และ cerebrovascular  complication เช่นstroke , myocardial  infarction , Heart  failure , TIA , new  angina เป็นต้น  ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในผู้ป่วยกลุ่มนี้

โดยมีรายงานพบว่า age-adjusted  risk  of  coronary  heart  death ในคนที่มี plasma  cholesterol สูง (>245 mg/dl) และมี Blood  pressure สูง (Systolic  BP > 142 mmHg)มีค่าสูงเป็น 10เท่าของคนที่มีค่าเหล่านี้ปกติ (Systalic  BP < 118  mmHg และ serum  cholesterol < 182 mg/dl

จาก NCEP ATP III ผู้ป่วยรายนี้มี 10-year  risk = 25 % และมี LDL = 202.2 mg/dl (³130 mg/dl)  จึงควรใช้ทั้ง Drug  Therapy และ TLC (therapeutic  Life  Style  Change)

 นอกจากนั้นยังมี systemic  review ที่เป็น randomized , double  blind ในปี 1995 จากBandofier  มีค่า NNT สำหรับ Lipid  lowering  drug  ใน primary  prevention  ดังนี้

            NNT (7 trials)

            MI  or  death                   69 (54-99)

            MI                           78 (60-121)

            CV  death                        347 (209-1980)

            All  death                931 (212-nobenefit)

และพบว่ามีค่า NNT น้อยลงอีกใน secondary  prevention  ดังนี้

    NNT                        All   Diet  only        HMG-CoA  reductose 

                                    (7  trials)  inhibitor (9  trial)

    MI  or  CV  death    16       15            15 (13-19)

    MI                   28       23            23 (18-31)

    cv  death         33       53            44 (34-67)

    All  death        37       41            37 (28-58)

จึงน่าจะสรุปได้ว่า  การใช้ Lipid  Lowering  therapy  (diet , phamacoceuticals) มีประโยชน์จริง

1.4  การให้ยาลดระดับไขมันในเลือดเป็นประโยชน์อย่างไร20(1),32(1),36(1),37(1)

การให้ยาลดระดับไขมันในเลือดและยาลดความดันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเพิ่ม Quality  of  Life รวมทังการลดอัตราการเกิด morbidity  และ mortality จาก Cardiovascular  disease ต่างๆ เช่น coronary  heart  disease , infarction , stroke , new  angina , myocardialTIA , CHF , etc

นอกจากนี้การให้ยาลดระดับไขมันในเลือดในกลุ่ม statin  ยังลด risk ของacute  cerebravascular  complications  (stroke  and  transient  ischemic  attack)  โดยเราสามารถศึกษาได้จากงานวิจัยต่างๆที่มีการแสดงว่า มีค่า number  event  per 1,000 , odd  ratio , relative  risk และabsolute  risk  reduction (ARR) ลดลงจริง ดังนี้

-  จาก Scandinavian  Simvastatin  Survival  Study (4S) ซึ่งเป็น metaanalysis พบว่า การให้ยาในกลุ่ม Statins  เทียบกับ placebo  ในผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง  พบว่า ในคนที่มี diastolic  BP 80-89 mmHg  (พระสมจิตร 86  mmHg) การใช้ยา Statins เทียบกับ placebo มี relative  risk (RR)  of  cardiovascular  complication  เท่ากับ –38%  จึงสามารถสรุปได้ว่า ยาลดระดับไขมันในเลือดมีประโยชน์ในการลด Cardiovascular  complication

- มีอีกการศึกษาของ 4S 37(1) ในปี 1997  ใช้4,444 men  and  women ทำการศึกษา 4.5 ปี  โดยใช้ randomized  control  trial เทียบประสิทธิภาพ ระหว่าง simvastatin กับ placebo  พบว่า

simvastatin ลด TC ได้ 25 %

            ลดLDL-Cได้ 35%

            เพิ่มHDL-C ได้ 8%

และยังลดCHD  death , stroke , Total  mortality , CHD  death + non  fatal  MI ได้ 42% , 30% , 30%และ24%ตามลำดับ

    สรุป  simvastatin มีผลในการลด TC , LDL-C ได้จริง  รวมทั้งยังสามารถลดcardiovascular  complication ได้อีกด้วย

-  นอกจากนั้นยังมี systemic  review ที่เป็น randomized , double  blind ในปี 1995 จากBandofier  มีค่า NNT สำหรับ Lipid  lowering  drug  ใน primary  prevention  ดังนี้

            NNT (7 trials)

            MI  or  death                   69 (54-99)

            MI                           78 (60-121)

            CV  death                        347 (209-1980)

            All  death                931 (212-nobenefit)

และพบว่ามีค่า NNT น้อยลงอีกใน secondary  prevention  ดังนี้

    NNT                        All   Diet  only        HMG-CoA  reductose 

                                    (7  trials)  inhibitor (9  trial)

    MI  or  CV  death    16       15            15 (13-19)

    MI                   28       23            23 (18-31)

    cv  death         33       53            44 (34-67)

    All  death        37       41            37 (28-58)

จึงน่าจะสรุปได้ว่า  การใช้ Lipid  Lowering  therapy  (diet , phamacoceuticals) มีประโยชน์จริง

    -  จากcochrane  Abstract  พบว่า การใช้ multi  risk  factor  intervention  ทั้งลด Total  cholesterol , BP , เลิกสูบบุหรี่ใน General  population (Low  risk) มีผลลด mortality จาก coronary  heart  disease ได้ประมาณ 10%

1.5  การใช้ยาอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดีหรือไม่ ผลเสยคืออะไร 16(3),20(1)

การให้ยาเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีระดับcholesterol ในเลือดสูง  โดยยาจะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับ cholesterol ในเลือดได้  ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด cardiovascular  complication  ต่างๆได้ เช่น stroke , Transient , schemic  heart  disease , atherosclerosis , heart  failure , coronary  artery  disease เป็นต้น  นอกจากนี้ยังช่วยลดอัตราการตายและทุพลภาพจากโรคต่างๆเหล่านี้ได้อีกด้วย

ส่วนผลเสียจากการใช้ยาลดไขมันโดยทั่วไป  ได้แก่ อาการแน่นท้อง  ท้องเสียหรือท้องผูก  ผลต่อตับทำให้ระดับ transaminase  ( SGOT , SGPT) เพิ่มขึ้น  ยาในกลุ่ม HMGCoA  inhibitor  และ fibrate  อาจทำให้ระดับ CPK เพิ่มขึ้น  ในรายที่รุนแรงอาจเกิด myopathy , myoglobinuria  และไตวายได้

กล่าวโดยสรุปการใช้ยาลดไขมันพบว่ามีผลดีมากกว่าผลเสีย

1.6  วิธีการอื่นที่ดีกว่าการใช้ยาหรือต้องทำร่วมกันไปด้วย 2(3),16(4)

เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้มีระดับ LDL-cholesterol สูงมากจึงต้องใช้ทั้ง Therapeutic  Lifestyle  Changes (TLC) ร่วมไปกับ Drug  Therapy

Therapeutic  Lifestyle  Change  ที่สรุปได้จาก NCEP  ATPIII  ได้แก่

    1) อาหาร

1รับประทานอาหารที่ให้พลังงานแต่พอควร

2รับประทานไขมันทั้งหมดไม่เกินร้อยละ30ของพลังงานที่ได้รับ

3รับประทานไขมันที่มีสัดส่วนของกรดไขมันอย่างเหมาะสม  ดังนี้

-รับประทานกรดไขมันอิ่มตัวให้น้อยกว่าร้อยละ10ของพลังงานที่ได้รับ

- รับประทานกรดไลโนเลอิก (linoleic  acid) ร้อยละ7-10ของพลังงานที่ได้รับ

- รับประทานกรดแอลฟา-ไลโนเลนิก  ร้อยละ0.5-1.0 ของพลังงานทั้งหมด

- รับประทานกรดโอเลอิก (oleic  acid) ร้อยละ 10-15 ของพลังงานทั้งหมด

    4 รับประทานโคเลสเตอรอลไม่เกินวันละ 300มก.

    5 รับประทานโปรตีนร้อยละ 15-20 ของพลังงานที่ได้รับ  โดยเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมันมาก

     6 รับประทานคาร์โบไฮเดรต 55-60ของพลังงานที่ได้รับ        ประเภทของคาร์โบไฮเดรต ที่ควรรับประทานคือ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน(complex carbohydrate)

     7 รับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้น  ควรรับประทานผักและผลไม้ในปริมาณทีใกล้เคียงกันไม่ควรรับประทานผลไม้ที่มีรสหวานจัดมาก

2) Increase  physical  activity

3) การควบคุมน้ำหนักตัว

4) การหยุดสูบบุหรี่

5) ลดการดื่ม alcohol

6) พักผ่อนคลายเครียด