Using
PBL And
EBM Approach |
||
|
|
|
|
11. สรุปผลการรักษา
(
Conclusion of Rx) 11.1 ต้องเปลี่ยนแปลงการวินิจฉัยหรือเปลี่ยนแปลงการรักษาหรือไม่ พิจารณาจากผลการรักษา 1)
สามารถควบคุมระดับไขมันในเลือดได้ตามเป้าหมายและไม่พบผลข้างเคียงจากยา
เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และต้องการการรักษาอย่างต่อเนื่อง
เราจึงพิจารณาให้ใช้ยาขนาดเดิมต่อไป 2)
ถ้าหากไม่สามารถควบคุมระดับ
cholesterol
ในเลือดได้ตามเกณฑ์
พิจารณาหาสาเหตุ
เช่นพิจารณาข้อบ่งชี้
ประสิทธิภาพยาและpatient compliance
แล้ววินิจฉัยโรคใหม่
หรือเพิ่มขนาดของยา
(เนื่องจากการลดระดับ cholesterolจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับขนาดของยาที่ใช้) เท่าที่จำเป็นและไม่เกิดผลข้างเคียง
เนื่องจากการเพิ่มขนาดยาอาจทำให้ผลข้างเคียงต่างๆ เช่น hepatotoxicity , myopathy , GI
irritation เพิ่มมากขึ้นได้ โดยวิธีการป้องกันผลข้างเคียงเหล่านี้อาจทำได้โดยนัดผู้ป่วยมาทำ
Liver function
test และmuscle enzyme อย่างสม่ำเสมอ
รวมทั้งเพิ่มขนาดยาเท่าที่จำเป็น เนื่องจากยานี้มีประสิทธิภาพในการลด
cholesterolดีมากเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นถือว่ายอมรับได้ เนื่องจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นถือว่าน้อยมากและป้องกันได้เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของยา
นอกจากนี้การเปลี่ยนเป็นยาอื่นยังไม่มีความจำเป็นเนื่องจากผู้ป่วยยังไม่เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ยา
รวมทั้งยานี้ก็มีประสิทธิภาพที่ดีในการลดระดับcholesterolในเลือด 3) ถ้าเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ยานี้ซึ่งทำให้ไม่สามารถเพิ่มขนาดของยาหรือใช้ยานี้ต่อไปได้
ให้หยุดยาแล้วพิจารณาเปลี่ยนยาโดยอาจเปลี่ยนไปใช้ยาในกลุ่ม
Bile acid
sequestrants เช่น cholestyramine
ซึ่งมีฤทธิ์ลด plasma LDL – cholesterol ได้ประมาณ
20% โดยการใช้ยานี้อาจทำให้เกิดอาการในระบบทางเดินอาหาร
เช่น
คลื่นไส้ อาเจียน
ท้องผูกได้
นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มระดับของ Triglyceride ในเลือดได้
ประมาณ 5-10% โดยอาจลดความเสี่ยงดังกล่าวโดยการให้
nicotinic acid ร่วมด้วย
ซึ่งจะช่วยลดระดับ TG ได้ประมาณ
20-50% โดยเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยากับ side effect แล้วถือว่ายอมรับได้เนื่องจาก
side effectที่เกิดขึ้นมีเพียงเล็กน้อยและผู้ป่วยรายนี้ก็มีระดับ
triglyceride
ในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ 11.2 ระยะเวลาในการรักษาครบถ้วนแล้วหรือไม่หรือต้องรักษาต่อเนื่อง 1) เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่ไม่หายขาดต้องรับการรักษาตลอดชีวิต
โดยให้นัผู้ป่วยมาพบอยู่สม่ำเสมอเพื่อดูระดับความรุนแรงของโรคว่าสามารถควบคุมได้หรือไม่
และต้องย้ำให้ผู้ป่วยต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของโรคแทรกซ้อน
เช่น
โรคหลอดเลือดหัวใจ
(coronary heart
disease) เป็นต้น 2) ถ้าหากผู้ป่วยขาดการติดต่อโดยไม่มา
Follow
up ตามที่นัดหมายไว้ให้พยายามติดต่อผู้ป่วยโดยอาจเป็นทางไปรษณีย์หรือทางโทรศัพย์เพื่อหาสาเหตุที่ผู้ป่วยไม่ได้มาตามนัดจะได้หาวิธีแก้ไขและนัดหมายครั้งใหม่ต่อไป 3) หากผู้ป่วยเสียชีวิตให้ค้นหาสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโดยอาจทำ autopsy เนื่องจากโรคนี้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเสียชีวิตจาก cardiovascular disease เช่น coronary heart disease , stroke เป็นต้น 12 ติดตามผลการรักษา27(2) “ กำหนดสถานการณ์ว่าผู้ป่วยได้กลับมาพบท่านตามที่ท่านนัดไว้ ผู้ป่วยให้ประวัติว่า
หลังจากกินยาที่ให้ไปรู้สึกมวนในท้อง แต่ยังกินยาต่อไปอีก
แต่ก็ยังคงรู้สึกมวนท้องอยู่
จึงหยุดกินยาไปหลังจากกินยาไปทั้งสิ้น
5 เม็ด
อยากจะให้หมอเปลี่ยนยาเพราะสงสัยจะแพ้ยาที่หมอให้
” จากข้อมูลข้างต้นปัญหามวนท้องที่เกิดขึ้นเป็น side effect
ที่เกิดจากการใช้ยา
แต่จะสามารถหายเองได้หากใช้ยาต่อไปอีกสักระยะ
จึงควรอธิบายทำความเข้าใจกับผู้ป่วยโดยไม่ต้องเปลี่ยนยาหรือdose ที่ให้ |
|