Using
PBL And
EBM Approach |
||
|
|
|
|
5. Prescription writing 5.1 เหตุผลที่ให้ยาในขนาดดังกล่าว
(dose)
7(3) เนื่องจากระดับ
cholesterol
ในเลือดของผู้ป่วยค่อยๆเพิ่มไม่ได้เพิ่มอย่างรวดเร็ว
รวมทั้งผู้ป่วยยังมีสุขภาพปกติดี
ไม่มีอาการจากcomplication ต่างๆ
จึงไม่มีความจำเป็นที่จะใช้ยาในขนาดสูงเพื่อรีบลดระดับ cholesterol ในเลือด จากขนาดในผู้ใหญ่
คือ 5-40 mg/วัน
แบ่งให้วันละ
1-2 ครั้ง
ดังนั้นขนาดยาเริ่มต้นที่เหมาะสมในผู้ป่วยรายนี้คือ
5 mg/วัน
ซึ่งเป็นขนาดยาที่ต่ำที่สุดก่อน
เพื่อที่จะลดผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้นได้ถ้าใช้ยาในขนาดสูง
อีกทั้งยังเป็นการดูว่าผู้ป่วยสามารถทนต่อผลข้างเคียงของยาได้มากน้อยเพียงใด
เพื่อที่จะสามารถปรับขนาดยาที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยได้โดยมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยน้อยที่สุดต่อไป นอกจากนี้จากการที่ผู้ป่วยรายนี้เป็นผู้สูงอายุ
ซึ่งอาจมีการทำงานของตับและไตไม่สมบูรณ์
จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในmaximum dose
หรือในขนาดสูงรวมทั้งการใช้ยาในระดับต่ำจะมีราคาถูกกว่าการใช้ยาในขนาดสูง
ดังนั้นการเริ่มต้นด้วยยาขนาดต่ำสุดในผู้ป่วยรายนี้จึงน่าจะเหมาะสมที่สุด 5.2 เหตุผลที่ใช้ยาด้วยวิธีดังกล่าว (Method
of Administration)6(3) 1)
ยาสามารถดูดซึมได้ดีและเร็วจากลำไส้
คือ
ได้มากกว่า 85% รวมทั้งต้องเปลี่ยนแปลงเป็นรูป
active form (metabolites) คือ Beta-hydroxyl form ที่ทางเดินอาหาร
การให้ยาโดยการรับประทานจึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแล้ว 2)
เนื่องจากระดับ
cholesterol
ในเลือดมีค่าสูงสุดตอนเที่ยงคืน เมื่อพิจารณาจากค่าครึ่งชีวิตของยา
(half life) คือประมาณ
1.5-2 ชั่วโมง
และค่า peak
plasma concentration time คือ
ประมาณ 2-3 ชั่วโมง
เราจึงควรให้ยาแก่ผู้ป่วยในเวลาเย็น
ซึ่งจะทำให้ระดับยามีค่าสูงสุดในเลือดใกล้เคียงกับเวลาที่ระดับ cholesterol ขึ้นสูงสุดพอดี 3) ควรรับประทานยาพร้อมอาหารหรือ
p.c. เนื่องจากตัวยาอาจทำให้เกิด
GI side
effect ต่างๆได้เช่น
ปวดท้อง
ท้องเดินได้ 4)
เนื่องจากยานี้มี
first-pass metabolism ที่ตับสูงและยาส่วนใหญ่จะจับกับ
protein
ในกระแสเลือด
รวมทั้งส่วนใหญ่จะถูกขับถ่ายผ่านตับในรูปของน้ำดี
(ส่วนน้องจะถูกขับถ่ายทางไตในรูปปัสสาวะ) จึงควรระวังการใช้ยานี้ในโรคตับและไต
แต่ผู้ป่วยรายนี้แม้จะมีการทำงานของตับและไตไม่สมบูรณ์เนื่องจากเป็นผู้สูงอายุ
แต่ก็ไม่มีการแสดงอาการของโรคตับและไต
จึงเหมาะสมที่จะใช้ยานี้โดยวิธีการรับประทานในผู้ป่วยรายนี้ 5) การให้ยาโดยการกินมีความสะดวกมากกว่าให้ยาโดยวิธีอื่นรวมทั้งผลข้างเคียงก็ต่ำเช่นเดียวกัน 5.3 เหตุผลที่ให้ยาด้วยความถี่ดังกล่าว
(Frequency) แม้ระดับค่า
Half Life
ของยาจะมีค่าไม่สูงมาก
คือ ประมาณ 1.5-2 ชั่งโมง
โดยจะมี metabolism ที่ทางเดินอาหารได้ในรูป
active form คือ Beta-hydroxyl form และจะมี first pass
extraction ที่ตับสูง
โดยยาส่วนใหญ่ที่รับประทานจะขับออกทางน้ำดี
เพียงส่วนน้อยที่จะถูกขับออกจากทางปัสสาวะ
(ร้อยละ
5-20) แต่ก็สามารถทำให้ระดับยาในเลือดมีเพียงพอที่จะควบคุมระดับ
cholesterol
ได้ตลอดทั้งวัน
จึงสามารถให้ยาแก่ผู้ป่วยวันละ
1-2 ครั้ง นอกจากนี้จากการรับประทานยาวันละ
1 ครั้งยังมีส่วนช่วยเพิ่มความสะดวกและ
patient compliance ของผู้ป่วยได้อีกด้วย 5.4 เหตุผลที่ให้ยาในจำนวนดังกล่าว
(Duration of
Treatment) ให้ยาผู้ป่วยเป็นเวลา
4 สัปดาห์แล้วมาติดตามผลการรักษารวมทั้งสั่งยาทั้งหมด
14 เม็ด
เนื่องจากเป็นการเริ่มต้นการรักษาเพื่อพิจารณาถึง side effect ในผู้ป่วยรายนี้และขนาดของยาที่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อควบคุมระดับ
cholesterol ดังนั้นจึงควรติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดโดยนัดมาดูอาการอีกครั้งใน
4 สัปดาห์หลังจากการมาครั้งแรก ซึ่งการให้ยาในจำนวนดังกล่าวเป็นจำนวนที่ผู้ป่วยรับประทานครบ
4 สัปดาห์แล้วยาหมดพอดี
ดังนั้นจึงเป็นการดีที่จะบอกคนไข้ว่าเมื่อยาหมดแล้วให้กลับมาพบแพทย์อีกครั้ง 5.5 พิจารณาระยะเวลาในการรักษา เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่รักษาไม่หายจำต้องใช้ยารักษาตลอดชีวิต
โดยหากไม่รักษาปล่อยให้ Cholesterol ในเลือดสูงจะส่งผลให้เกิด complication ตามมามากมาย
เช่น coronary heart disease , stroke , TIA เป็นต้น
โดยเมื่อใช้ยา simvastatin
ไปประมาณ
4 สัปดาห์
จะเริ่มส่งผลการรักษาคือ
มีระดับ LDL-C ลดลง
นอกจากนี้ยังอาจพบ
side
effectต่างๆได้
เช่น myopathy โดยมีการเปลี่ยนแปลง muscle enzyme ใน 4 สัปดาห์หลังการรักษา
,
GI side effect , hepatotoxicity โดยเริ่มการเปลี่ยนแปลง Liver enzyme ใน 3 สัปดาห์หลังการรักษา
เป็นต้น ดังนั้นเราจึงสั่งยาผู้ป่วยรายนี้ใช้ได้นาน
4 สัปดาห์
แล้วนัดมาติดตามผลการรักษาดูประสิทธิภาพยา side
effect ที่เกิดขึ้น
โดยอาจพิจารณาปรับขนาดยา
หรือเปลี่ยนยาต่อไป สรุปว่า2(4) ขนาดยาที่ให้คือ
5 mg/วัน ทางoral route โดยให้วันละ
1 ครั้งๆละ
½ เม็ดหลังอาหารเย็น
มีความถูกต้องตามหลักเภสัชจลศาสตร์ ดังนี้ 1. เริ่มต้นให้ยาในขนาด dose ต่ำสุดก่อน
เพื่อป้องกัน side effectต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้แล้วจึงเพิ่มยาต่อไป 2. การให้ยาทางปากเป็นวิธีการให้ที่เหมาะสมเนื่องจากยาดังกล่าวสามารถดูดซึมได้ดีจากทางเดินอาหารรวมทั้งยังต้องเปลี่ยนเป็นรูป
active form ที่ทางเดินอาหารอีกด้วย 3. การให้ยาวันละครั้งเพื่อเพิ่ม
compliance
ใหเแก่ผู้ป่วย 4. ทานยาหลังอาหารเพื่อป้องกัน
GI side
effect 5. ทานยาในเวลาเย็นเพื่อให้ระดับยาสูงสุดในเลือดตอนประมาณเที่ยงคืน ซึ่งเป็นเวลาที่ร่างกายมีระดับcholesterol ในเลือดสูงที่สุด ผลการรักษาที่คาดว่าจะได้เนื่องจากเราให้ยาในขนาดต่ำ คือ 5 mg/วัน จึงน่าจะช่วยลด LDL-C ได้ประมาณ 18% เพิ่มHDL-C ประมาณ5% และลดTG ประมาณ 7% ซึ่งยังไม่เพียงพอ ถ้าเป็นไปได้ควรพิจารณาเพิ่มขนาดยาในผู้ป่วยรายนี้ต่อไป |
|