Rational  Prescription  For  Hypercholesterolemia

Using  PBL  And  EBM  Approach

Robbear7 Website Designs

Robbear7 Website Designs

 

 

Index

Preface

Case Scenario

Information

Other Drugs

Indication

Efficacy

Risk

Cost

Prescription

Pat Edu & FU

Rx Conclusion

Conclusion

References

2. พิจารณาประสิทธิภาพของยา (Efficacy)

2.1 ยามีอะไรบ้าง แบ่งเป็นกี่กลุ่ม แบ่งกลุ่มยาอย่างไร  ยาแต่ละกลุ่มมีอะไรบ้าง2(4),          9(3),21(1)

ยาลดไขมันในเลือดมีอยู่หลายกลุ่ม  แต่ละกลุ่มมีคุณสมบัติและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่แตกต่างกัน  ได้แก่

1) ยาในกลุ่มที่ลด Triglyceride  ในเลือดเป็นส่วนใหญ่

       1. Nicotinic  acid  ตัวอย่างยาในกลุ่ม เช่น  Immediate  release crystalline  nicotinic  acid (1.5-3gm) , extended  release  nicotinic  acid (Niaspan  R ) (1-2g) , sustained  release  nicotinic  acid (1-2g)

       2. Fibric  acid  derivative  ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น Gemfibrozil () (600 mg BID)  , Fenofibrate (200mg) , Clofibrate (1,000 mg  BID)

                        2) ยาในกลุ่มที่ลด Chloresterol , LDL-cholesterol ในเลือดเป็นส่วนใหญ่

                                1. HMGCoA  reductase  inhibitors (statins)  ตัวอย่างยาในกลุ่มเช่น Lovastatin (20-80 mg) , Pravastatin (20-40 mg) , Simvastatin () (20-80 mg) ,Fluvastatin (20-80 mg) , Atorvastatin()(10-80mg) , Cerivastatin(0.4-0.8 mg)

                                2. Bile  acid  Sequestrants  ตัวอย่างยาในกลุ่ม เช่น Chloestyramine()(4-16g) , Colestipo (5-20g) , Colesevelam (2.6-3.8g)

                                3. Probucol  ตัวอย่างยาในกลุ่ม เช่น probucol

หมายเหตุ  ทั้งยาในกลุ่ม ก. และ ข. ยังมีผลต่อระดับไขมันชนิดอื่นๆในเลือดด้วย  ได้แก่  LDL-C , HDL-C , TG , Cholesterol เป็นต้น

2.2  กลไกในการออกฤทธิ์ของยาในแต่ละกลุ่ม 7(3),9(3),22(1)

1) Nicotinic  acid 

                        nicotinic  acid  ลดการสร้าง triglyceride ในตับทำให้การหลั่ง VLDL ลดลง  เป็นผลทำให้การสร้าง IDL  และ LDL นอกจากนี้เชื่อว่า nicotinic  acid  เพิ่ม clearance  ของ VLDL ผ่านทางเอนซัมย์ lipoprotein  lipase  เพิ่มปริมาณของ HDL  รวมทั้งHDL-cholesterol และ Apo a-1ในเลือด

                nicotinic  acid  ดูดซึมได้ดีจากทางเดินอาหารและถูกเปลี่ยนที่ตับโดยการ conjugate กับ glycine ได้ nicotinuric  acid 

2) Fibric  acid  derivative

                        1. Bezafibrate

                                - เพิ่มการสลายของ triglyceride ใน lipoprotein โดยทำให้เอนซัมย์ lipoprotein  lipase  และ hepatic  glyceride  hydrolase  มีฤทธิ์มากขึ้น

                                - ทำให้การทำงานของLDL  receptor  เพิ่มขึ้นเนื่องจาก bezafibrate  ไปลดการทำงานของ hydroxymethylglutaryl  CoA 

                        2. Gamfibrozil (A)

                                - ยับยั้งการเกิด lipolysis ของ triglyceride ในเนื้อเยื้อ     ไขมัน (adipose  tissue)

                                - ลดการจับ fatty  acid ของตับ  ทั้ง 2 กลไกทำให้มี fatty  acid มาสู่ตับน้อย  ผลคือการสร้างและการหลั่ง triglyceride ลดลง  ทำให้การสร้าง lipoproteinก็น้อยลงด้วย

                3) Probucol  กลไกการออกฤทธิ์ของ probucol ยังไม่ทราบชัดเจนว่าไปลด plasma  LDL- cholesterol ได้อย่างไร  เชื่อว่ายาไปยับยั้งการสร้างสารพวก sterol ในร่างกายและเพิ่มการขนส่ง cholesterol  จากส่วนต่างๆของร่างกายกลับมาสู่ตับ  ส่วนการลดHDL นั้นเชื่อว่า probucolไปลดการสร้าง Apo A-I ซึ่งเป็นโปรตีนหลักของ HDL

                        นอกจากนี้เชื่อว่า probucol สามารถยับยั้งการแข็งตัวของผนังหลอดเลือด (atherogenesis)  เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นantioxidant สามารถป้องกัน lipoprotein ไม่ให้เกิด hydroperoxidation  จึงไม่เกิด form  cell  ที่ผนังของหลอดเลือด (arterial  intima)

                        ข้อเสียจากprobucol นอกจากจะทำให้ plasma  HDL ลดลงแล้วยังพบว่าตัว probucol มีคุณสมบัติเป็น lipophilic  compound  สามารถอยู่ในadipose  tissue  และกระแสเลือดได้เป็นเวลานานหลายเดือน แม้ว่าจะหยุดการใช้ยาไปแล้ว  เมื่อรับประทานprobucol ยาจะถูกดูดซึมน้อยกว่า 10%  ส่วนใหญ่จะถูกขับถ่ายออกทางน้ำดีและอุจจาระ

                4) Bile  acid-binding  resin (Cholestyramine () and  Colestipol)

                                เนื่องจาก resin เหล่านี้ไม่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหาร  เมื่ออยู่ในลำไส้จะจับกับ  bile  acid (ลดการดูดซึมกลับของ bile  acid) และขับเอากรดเหล่านี้ออกทางอุจจาระ  จากการที่ขาด bile  acid  มีผลทำให้ cholesterol ดูดซึมได้น้อยและขับออกทางอุจจาระ (neutral  sterol)  จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ hepaticmetabolism  เพื่อรักษา homeostasis  ของร่างกาย คือ

                                1. ทำให้ LDL  receptor  ที่ผิวเซลล์เพิ่มจำนวนมากขึ้นเพื่อที่จะจับ LDL จาก plasma  ทำให้ plasma  LDL-C ลดลง

                                2. ทำให้การทำงานของ 3- hydroxy-3methylglutaryl  CoA (HMG  CoA)  reductase  เพิ่มขึ้น  เอนซัมย์นี้เป็น rate  controlling  enzyme  ในการสังเคราะห์cholesterol  ทำให้ การสังเคราะห์cholesterol  เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะได้เปลี่ยนไปเป็น bile  acid

                5) HMG-CoA  reductase  inhibitors (statins)

                                ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการสร้าง cholesterol ในตับโดยเป็นสารยับยั้งการทำงานของเอนซัมย์ HMG CoA  reductase (3- hydroxy-3methylglutaryl  CoA  reductase) ซึ่งเป็น rate  controlling  enzyme ของการสร้าง cholesterolที่ตับ  ทำให้การสร้าง cholesterol  ลดลง  ผลที่ตามมาคือ ทำให้มีการเพิ่มปริมาณของ LDL  receptors ที่ผิวเซลล์ของตับเพื่อที่จะเพิ่มการจับเอา LDL จาก plasma ทำให้ plasma  LDL ลดลง

        2.3 มีความจำเป็นต้องใช้ยามากกว่า 1 ขนาดหรือไม่

                        ไม่มีความจำเป็นในตอนเริ่มต้น  เนื่องมาจากผู้ป่วยรายนี้เป็นผู้สูงอายุ  การใช้ยาหลายชนิดอาจมีโอกาสเกิด Drug  interaction และ side  effect เพิ่มจากปกติได้  รวมทั้งจาก clinical  guideline เสนอให้มีการใช้ยา Simvastatin เป็น initial Drug  โดยถ้าไม่ได้ผลค่อยพิจารณาเปลี่ยนยาหรือเพิ่มยาตัวอื่นต่อไป

        2.4  ยาที่ท่านเลือกใช้มีกลไกการออกฤทธิ์ที่สอดคล้องกับกลไกลการเกิดโรคหรือไม่อย่างไร

                        ยาที่เราเลือกใช้ (simvastatin) อยู่ในกลุ่ม HMG  CoA  reductase  inhibitor  ซึ่งจะยับยั้ง enzyme   HMG  CoA  reductase ในตับซึ่งเป็น enzymeที่ใช้ในการสร้าง cholesterol  ซึ่งเมื่อใช้แล้วจะมีผลให้ cholesterol และ LDL- cholesterol ลดลง  ซึ่งสอดคล้องกับกลไกการเกิดโรคที่มีการเพิ่มการสร้าง cholesterol และ LDL ทำให้มีปริมาณสูงขึ้นในเลือด

        2.5 มีวิธีการให้ยาที่เหมาะสมอย่างไร6(3),7(4),22(2),23(1),23(2)

                        1) simvastatin()

                                เพื่อให้ระดับยาในเลือดสูงเพียงพอ   ยาsimvastatin ที่ให้ในรูป oral  form  จะอยู่ในรูป  inactive  lactone  prodrugs  ที่จะถูก hydrolyze  ในระบบทางเดินอาหารได้เป็น active  beta- hydroxyl  derivatives

                        จากการทดลองในสัตว์ทดลองพบว่า  simvastatin ในรูป oral  dose มีการดูดซึมได้ประมาณ 85%ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับการดูดซึมของยาในผู้ป่วย  โดยยาชนิดนี้มี first-pass  metabolism ที่ตับสูงมาก  ทำให้เหลือระดับยาในรูป active  form (metabolites)  กระแสเลือดน้อยกว่า 5% ของ oral  dose ซึ่งก็มีฤทธิ์เพียงพอในการลดระดับไขมันในเลือด  โดยมากกว่า 95% จะจับกับโปรตีนในกระแสเลือด  โดยระดับยาจะมีค่าสูงสุดในเลือดเมื่อเวลาผ่านไป 1-2 ชั่วโมงหลังทานยา  โดยจะมีค่าครึ่งชีวิต (half  life) ในเลือดประมาณ1.5-2 ชั่วโมง

                        ยา simvastatin ขับถ่ายส่วนใหญ่ผ่านทางตับในรูปของน้ำดีและอุจจาระ  และน้อยกว่า 13% ของmetabolites ถูกขับถ่ายทางปัสสาวะ

                        2)  ตัวยาอื่นๆ

                                1. Nicotinic  acide

                                        เราให้ในรูป oral  form เนื่องจากยานั้นดูดซึมได้ดีจากทางเดินอาหาร (เกือบ 100%)  โดยควรรับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันทีเนื่องจากยานั้นมีฤทธิ์ระคายเคืองทางเดินอาหารมาก

                                2. Bile  Acid  Sequestrants (Cholestylamine)

                                        เราให้ในรูป oral  form  เนื่องจากเราต้องการให้มันไปออกฤทธิ์ในระบบทางเดินอาหาร  โดยยาตัวนี้ไม่มีการ Absorb เข้าสู่ร่างกาย 

                                3. Fibric  acid

                                        เราให้ในรูป oral  form  โดยยาในกลุ่มนี้จะAbsorb ได้รวดเร็ว (>90%) เมื่อรับประทานยาพร้อมอาหารและจะลดลงเล็กน้อยเมื่อทานยาขณะท้องว่าง

                                4. Probucol

                                        ให้ในรูป oral  form  เนื่องจากดูดซึมได้ดีจากทางเดินอาหาร 

 

        2.6 ประสิทธิภาพ (efficacy) โดยทั่วไป 2(4)

                1) simvastatin

                                มีการใช้ยานี้เป็น first  line  drug  โดยนิยมใช้ในผู้สูงอายุ  มีประสิทธิภาพดีที่สุดใน Hypercolesterolemia โดยจะเป็นแบบ dose  response  relationship (มีประสิทธิภาพแม้ใช้ยาในขนาดต่ำและประสิทธิภาพจะสูงขึ้นเมื่อมีการเพิ่มขนาดยา)โดยยานี้มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงระดับไขมันในเลือด  ดังนี้

                        1. สามารถลดระดับ LDL-C ได้ประมาณ 18-55%

                        2. สามารถเพิ่มระดับ HDL-C ได้ประมาณ 5-15%

                        3. สามารถลดระดับ Triglyceride ได้ประมาณ 7-30%

                        4. สามารถลดระดับ Total  cholesterol ได้ประมาณ 20-30%

                จะเห็นได้ว่ายาในกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพที่ดีในการลดระดับของ LDL-cholesterol ซึ่งเป็นprimary  goal ของการรักษา Hypercholesterolemia  ทั้งใน primaryและsecondary  prevention

        มีประโยชน์ในการลด morbidity และ mortality จาก Cardiovascular  ต่างๆ เช่น stroke , coronary  heart  disease เป็นต้น

        นอกจากนี้ยังพบว่ายานี้แม้ว่าใช้ไปนานๆก็จะไม่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง  รวมทั้งสามารถใช้ร่วมกับยาอื่นในการเสริมฤทธิ์การลด cholesterol ของยาตัวอื่นได้อีกด้วย

                        2) ยาตัวอื่นๆ

                                1. bile  acid  sequestrants  Cholestyramin  มีหลักฐานที่แสดงว่าสามารถใช้ยานี้เป็น  first  lineในการรักษา Hypercholesterolemia ในเด็กได้ผลดีเนื่องจากยานี้ไม่ถูกดูดซึม  จึงเกิด side  effectน้อย

                                ยานี้มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงระดับไขมันในเลือด ดังนี้

                                        - สามารถลดระดับ  LDL-C  ได้ประมาณ  15-30%

                                        - สามารถลดระดับ  HDL-C  ได้ประมาณ  3-5% 

                                        - ไม่มีผลหรืออาจเพิ่มระดับ TG

        มีประโยชน์ในการลด morbidity และ mortality จาก Cardiovascular  ต่างๆ เช่น stroke , coronary  heart  disease เป็นต้น

        นอกจากนี้ยังพบว่ายานี้แม้ว่าใช้ไปนานๆก็จะไม่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง  รวมทั้งสามารถใช้ร่วมกับยาอื่นในการเสริมฤทธิ์การลด cholesterol ของยาตัวอื่นได้อีกด้วย

                        2. Nicetinic  acid  ยาตัวนี้มีผลน้อยในการลดระดับ cholesterol  โดยมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงระดับไขมันในเลือด  ดังนี้

                                -  สามารถลดระดับ LDL-C ได้ประมาณ 5-25 %

                                -  สามารถลดระดับ HDL-C ได้ประมาณ 15-35 %       

                                -  สามารถลดระดับ TC ได้ประมาณ 20-50 %

        มีประโยชน์ในการลด morbidity และ mortality จาก Cardiovascular  ต่างๆ เช่น stroke , coronary  heart  disease เป็นต้น

        นอกจากนี้ยังพบว่ายานี้แม้ว่าใช้ไปนานๆก็จะไม่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง  รวมทั้งสามารถใช้ร่วมกับยาอื่นในการเสริมฤทธิ์การลด cholesterol ของยาตัวอื่นได้อีกด้วย

        3.  Fibric  acid  ยาตัวนี้มีผลน้อยในการลดระดับ cholesterol  โดยมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงระดับไขมันในเลือด  ดังนี้

                                -  สามารถลดระดับ HDL-C ได้ประมาณ 10-20 %

                                -  สามารถลดระดับ TGได้ประมาณ 20-50 % 

                                -  สามารถลดระดับ HDL-C ได้ประมาณ 5-20 %

                                (โดยอาจเพิ่ม LDL-Cได้  ถ้าผู้ป่วยมี TG สูง)

        มีประโยชน์ในการลด morbidity และ mortality จาก Cardiovascular  ต่างๆ เช่น stroke , coronary  heart  disease เป็นต้น

        นอกจากนี้ยังพบว่ายานี้แม้ว่าใช้ไปนานๆก็จะไม่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง  รวมทั้งสามารถใช้ร่วมกับยาอื่นในการเสริมฤทธิ์การลด cholesterol ของยาตัวอื่นได้อีกด้วย

                        3) Combination

                                พบว่าการ combine ยาตัวต่างๆในกลุ่ม  เช่น

                                        Cholestyramine + statin

                                        Cholestyramine + fibrate

                                        Statin + fibrate (ระวัง Drug  interaction)

                                                etc.

                                พบว่ามีผลลดความดันได้ดีกว่ายาเดี่ยวๆ  และช่วยหลีกเลี่ยงการใช้  High  Dose  Monotherapy ได้       

        2.7 ประสิทธิภาพ (Efficacy) ของยาทางคลีนิค(clinical  trial) 24(1),25(1),26(1),32(1),36(1),37(1)

                        1) จากการทำวิจัยในปี ค.. 1999 โดยการทำ systemic  review  และ meta-analysis24(1) ของ randomized  controlled  trials ในหลายๆกลุ่มอายุ เทียบกับ placebo โดยใช้รายงานการศึกษา 17 เรื่อง (ผู้ป่วย 21,303 คน) พบว่าการใช้ยา statins มีผลดังนี้

        1. มี odd  ratioสำหรับall  cause  mortatityเท่ากับ0.76 (95% CI ,   0.67-0.86)

                2. มี odd  ratio สำหรับ fatal  MI เท่ากับ 0.61 (95% CI , 0.48-0.78)

        3. มี odd  ratio สำหรับ non  fatal  MI เท่ากับ 0.69 (95%CI , 0.54- 0.88)

        4. มี odd  ratio สำหรับ fatal  stroke  เท่ากับ 0.77(95%CI , 0.57-1.04)

        5. มี odd  ratio สำหรับ nonfatal  stroke เท่ากับ 0.69(95%CI , 0.54-0.88)

        6. มี odd  ratio สำหรับangina เท่ากับ 0.70(95%CI , 0.65-0.76)

                        สรุปได้ว่าผู้ป่วยในหลากหลายกลุ่มอายุที่ได้รับ statins จะลดอัตราการตายและ major  cardiovascular  events ได้ประมาณ 20-30% เทียบกับ placebo

                2) จากการวิจัยในปี ค.. 2000 โดยการทำ meta  analysis 25(1) ของ 9 รายการศึกษาใช้ผู้ป่วยหลากหลายกลุ่มอายุที่เป็น Hypercholesterolmia  2,819 คน  ที่ได้รับยา simvastatin 40 หรือ 80 mg เป็นเวลา 36 ถึง 38  สัปดาห์ โดยวิธี randomized , multicenter , controlled , double-blind , parallel-group  design  พบว่า สัปดาห์ที่ 24 ค่า mean  percentage  reductions of  coronary  artery  disease(95%  confidence  intervals) ของ LDL-C  สำหรับยา 40 และ 80 mg  คือ –39.8% (-40.9 to –38.7) และ –45.7% (-46.5 to –45.0) ตามลำดับ  โดยมีค่า p < 0.001 between  groups

                        นอกจากนี้ยังพบว่า simvastatin  80  mg มี comparable  efficacy  and  safety  profile  in  women  and  men  as  well  as  in  non-elderly  and  elderly  person 

                สรุปผลการวิจัยได้ว่า simvastatin  80  mg มีผลในการลด LDL-C และ triglyceride  เปรียบเทียบได้กับ 40 mg  dose  โดยมี excellent  safety  and  tolerability  profile ในผู้ป่วยหลากหลายกลุ่มอายุ

                3) มีการศึกษาใน ปี ค..1997 โดยวิธี  meta-analysis  และ literature  review 26(1)โดยดูผล long  term ของยาในกลุ่ม statins ในการยับยั้ง  mortality และ morbidity ของ coronary  heart  disease ในผู้ป่วยหลากหลายกลุ่มอายุ  ใช้ 52 randomized , double  masked  clinical  trial  with  at  least  25 per  treatment  arm  พบว่า ยาในกลุ่ม statins มีประสิทธิภาพในการลดระดับ blood  cholesterol  โดย simvastatin 25 mg/day สามารถลดระดับ LDL-C ได้ 22.9%  และลดระดับ total  cholesterol ได้ 15.7%   ส่วนsimvastatin 40 mg/day สามารถลดระดับ LDL-C ได้ 40.7%  และลดระดับ total  cholesterol ได้ 29.7% ตามลำดับ

                สรุปได้ว่าในlong  term ยาsimvastatin ทั้ง 25 mg/day และ 40 mg/dayมีประสิทธิภาพในการลดระดับ cholesterol , LDL-C ได้จริง

                4) นอกจากนั้นยังมี systemic  review ที่เป็น randomized , double  blind ในปี 1995 จากBandofier  มีค่า NNT สำหรับ Lipid  lowering  drug  ใน primary  prevention  ดังนี้

                NNT (7 trials)

                MI  or  death                   69 (54-99)

                MI                           78 (60-121)

                CV  death                        347 (209-1980)

                All  death                931 (212-nobenefit)

และพบว่ามีค่า NNT น้อยลงอีกใน secondary  prevention  ดังนี้

        NNT                        All   Diet  only        HMG-CoA  reductose 

                                        (7  trials)  inhibitor (9  trial)

        MI  or  CV  death    16       15            15 (13-19)

        MI                   28       23            23 (18-31)

        cv  death         33       53            44 (34-67)

        All  death        37       41            37 (28-58)

จึงน่าจะสรุปได้ว่า  การใช้ Lipid  Lowering  therapy  (diet , phamacoceuticals) มีประโยชน์จริง

                5)  มีอีกการศึกษาของ 4S 37(1) ในปี 1997  ใช้4,444 men  and  women ทำการศึกษา 4.5 ปี  โดยใช้ randomized  control  trial เทียบประสิทธิภาพ ระหว่าง simvastatin กับ placebo  พบว่า

simvastatin      ลด TC ได้ 25 %

                ลดLDL-Cได้ 35%

                เพิ่มHDL-C ได้ 8%

และยังลดCHD  death , stroke , Total  mortality , CHD  death + non  fatal  MI ได้ 42% , 30%, 30%และ24%ตามลำดับ

        สรุป  simvastatin มีผลในการลดTC , LDL-C ได้รับจริงรวมทั้งยังสามารถลด cardiovascular  complication ได้อีกด้วย

                                6)  มีcochrane  abstract36(1) ในปี2000โดยใช้ผู้ใหญ่จากประชากรทั่วไป , Occupational  groups  or  high  risk  groups โดย review 10 trials  พบว่า การใช้ multiple  risk  factor  intervention ทั้งลด BP , serum  cholesterol , เลิกสูบบุหรี่  พบ  odds  ratio  for  total  and  coronary  heart  disease  mortality เท่ากับ 0.97 (95% CI , 0.92-1.02)และ 0.97(95% CI , 0.88-1.04) ตามลำดับ

        สรุป  multiple  risk  factor  intervention ที่ใช้กับgeneral  popular  ซึ่ง low  risk จะมีผลน้อยต่อการลด mortality  rate  จาก coronary  heart  disease 

                                7) จาก TRIP  Database41(1)  ในการศึกษาแบบ randomised  placebo-control  trial ใช้ผู้ใหญ่ชาวUK 20,536 คน  อายุระหว่าง 40-80 ปี ที่มีcoronary  disease , other  occlusive  arterial  disease  or  diabetes โดยให้ 40 mg  simvastatin  daily แบบ randomly (compliance 85%) หรือ placebo โดยใช้เวลาtreatment 5 ปี  พบว่ามีการลด

                All  cause  mortality                coronary  death  rate               stroke

Simvastatin      1328(12.9%)/10269                        587(5.7%)               444(43%)

placebo   1507(14.7%)/10267                        707(6.9%)               585(5.7%)

p              0.0003                                     0.0005                     <0.0001

significant        18% (SE5)                              

        มีผลลดการเกิดครั้งแรกของ major  vascular  event ได้ 24% (SE3 ; 95% CI 19-28)

        นอกจากนี้ยังพบ myopathy ประมาณ 0.01% และไม่พบ side  effect  ที่เกี่ยวข้องกับ cancer

        สรุป simvastatin มีผลช่วยลดอัตราการเกิด myocardial  infarction , stroke , revascularization ได้ประมาณ 1ใน4 (25%)

8) มีอีกการศึกษาของ 4S42(1) เกี่ยวกับการใช้ simvastatin ใน 4,444 คน  ที่มีhypercholesterol  and  angina  pectoris  or  prior  MI พบว่า จะช่วยลดTotal  mortality (30%) , CHD  mortality (42%) , nonfatal  MI (37%)  โดยเปรียบเทียบกับ placebo เป็นเวลา 5.4 ปี                          

        สรุปความคิดเห็นของทั้งหมด  จาก evidence  based ต่างๆที่มีข้างต้น  ทั้ง meta-analysis , double  blind , randomized  control  trials , systemic  review และ cochrane พบว่า ยาsimvastatin  มีประสิทธิภาพจริงในการลด  blood  cholesterol  และ LDL-cholesterol  ซึ่งจะส่งผลช่วยลดการเกิด morbility และ mortality จาก cardiovascular  disease ต่างๆ  ทั้งcoronary  heart  disease , stroke , etc