Using
PBL And
EBM Approach |
||
|
|
|
|
สรุป จากกรณีตัวอย่างผู้ป่วยเป็นพระสงฆ์ อาย 63 ปี
มาด้วยอาการเวียนศีรษะมา
3 ชั่วโมง
ทำการตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการ
พบว่ามีความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น(148/86 mmHg) , ระดับ
cholesterol
ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น(274 mg/dl) , ระดับ LDL - cholesterol ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
(202.2
mg/dl)และอ้วน
(BMI =
30.08kg/m2) โดยให้ประวัติเป็น Hypertension และ
Osteoarthritis
ที่เข่าขวา
เคยได้รับยา
Norgesic (Paracetamol)แต่ไม่ได้ผล
และมีอาการเวียนศีรษะหลังฉันยา
Hidil (gamfibrozil)ด้วย เราวินิจฉัยให้ผู้ป่วยเป็นHypercholesterolemia with
hypertension , right knee osteoarthritis and
obesity และมีปัจจัยเสียงของ cardiovascular disease โดยมี
10
year survival for
coronary heart disease
เท่ากับ
25 % เราได้ตั้งเป้าหมายในการรักษาโรคตาม
criteria
ของNCEP ATP IIIให้น้อยกว่า
100
mg/dl โดยใช้ทั้ง
Therapeutic life
style change รวมทั้ง
drug therapy
โดยให้การรักษาที่สะดวกกับผู้ป่วย
(compliance
ดี) เกิดside effect น้อย
ลดอาการเวียนศีรษะในผู้ป่วย
ซึ่งเป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบเราโดยการหยุดทานยา
Hidil ซึ่งทำให้เกิด side effect
ดังกล่าวและรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยน้อยที่สุด
รวมทั้งยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวและแนะนำผู้ป่วยลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่มีผลต่อ
coronary disease ทั้งhypertension และ
obesity
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีquality of
life ที่ดีขึ้น
มีอายุยืนนานเท่าคนปกติ โรคHypercholesterolemia
นี้
มีสาเหตุได้หลายประการทั้งจากพันธุกรรม
โรคทางกาย
ยาหรือการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ยาที่เราจะใช้ในการรักษาผู้ป่วยรายนี้
คือ simvastatin ซึ่งจากการศึกษาวิจัยต่างๆพบว่ายานี้มีประสิทธิภาพที่ดีในการลดระดับ
cholesterol
และ LDL –
cholesterolในเลือด
ซึ่งตรงกับในผู้ป่วยรายนี้ ส่วนในด้านความเสี่ยงจากการใช้ยานี้พบว่าผู้ป่วยรายนี้ไม่มีข้อห้ามใดๆในการใช้ยา
รวมทั้งขนาดที่สั่งให้ก็เป็น
low dose ซึ่งจะช่วยลดผลข้างเคียงต่างๆลงได้อย่างมาก ส่วน clinical trialและ guideline ต่างๆก็สนับสนุนให้เลือกใช้ยา simvastatinเป็น first line
therapy และเป็นยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยสูงอายุมากที่สุด
ด้านราคายา
ยาตัวนี้มีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับยาตัวอื่นเหมาะสมกับเศรษฐานะของผู้ป่วย
รวมทั้งการใช้ยาก็ง่ายรับประทานเพียงวันละ
1 ครั้งๆละ
½ เม็ด
จึงน่าจะเป็นการทำให้มี
patient complianceที่ดี
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาจึงควรมีการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยให้ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
เช่น
ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง
หมั่นออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก
เป็นต้น
และนัดให้ผู้ป่วยมาติดตามผลในอีก
4 สัปดาห์คือ
วันที่ 5 ส.ค. 2544โดยให้ผู้ป่วยอดอาหารมา
8 ชั่วโมง ในการติดตามผล
ผู้ป่วยมีอาการมวนท้อง
เราจึงควรให้ความรู้แก่ผู้ป่วยว่า
อาการมสนท้องเป็นผลข้างเคียงจากยาและจะหายได้เองหากใช้ยาต่อไปเรื่อยๆ นอกจากนั้นหากขนาดยาที่ได้ยังไม่สามารถลด
cholesterolให้ถึงเป้าหมาย
เราอาจพิจารณาเพิ่ม
dose ของยาในกรณีที่ไม่พบ side effect ที่สำคัญจากยา ข้อมูลต่างๆที่ใช้ประกอบในการทำรายงานครั้งนี้ได้มาจากการค้นคว้าในหนังสือและเอกสารต่างๆรวมทั้งมีการ search หาข้อมูลจาก
internet
ด้วย
เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้วก็นำมารวบรวมพิจารณารายละเอียดในหัวข้อต่างๆและนำมาสรุปเป็นรายงานเล่มนี้ อนึ่งจากการทำรายงานฉบับนี้ได้มีการฝึกฝนในเรื่อง Rational use of Drug , Evidence-based and Problem based medicine อันจะเป็นการฝึกฝนให้ผู้ทำรายงานมีพื้นฐานที่ดีในการนำไปใช้ในการเรียน และประกอบวิชาชีพอันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคต |
|