Rational  Prescription  For  Hypercholesterolemia

Using  PBL  And  EBM  Approach

Robbear7 Website Designs

Robbear7 Website Designs

 

 

Index

Preface

Case Scenario

Information

Other Drugs

Indication

Efficacy

Risk

Cost

Prescription

Pat Edu & FU

Rx Conclusion

Conclusion

References

3. พิจารณาความเสี่ยงจากการใช้ยา (Risk)

3.1                     Contraindications  ของยา simvastatin 2(4),7(3),27(2)

1) Simvastatin

1.  Absolute  contraindications   

-        Active  liver  disease

-        Chronic  liver disease

-        Pregnancy , children , หญิงที่ให้นมบุตร 

2. Relative  contraindications

                - ใช้ร่วมกับ cyclosporine , gemfibrozil , or  niacin , macrolide  antibiotics , various  anti-fungal  agents  and  cytochome  P-450  inhibitors

        สรุปว่าไม่มีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยรายนี้

        2)  ยาตัวอื่นๆ

             1.  Bile  acid  sequestrants

                    Absolute  contraindication

                            -  dysbeta-lipoproteinemia

                            -  TG > 400  mg/dl

                   Relative  contraindication

                            -  TG > 200  mg/dl

             2.  Nicotinic  acid

                   Absolute  contraindication  

                            -  Chronic  liver  disease

                            -  Severe  gout

                   Relative  contraindication

                            -  Diabetes

                            -  Hyperuricemia

                            -  Peptic  ulcer  disease

             3. Fibric  acid

                   Absolute  contraindication          

                            -  Severe  renal  disease

                            -  Severe  hepatic  disease

        สรุปได้ว่าไม่มีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยรายนี้

3.2                     Warning  and  Precaution  ของยา simvastatin7(3),27(1)

1) Simvastatin

1. ไม่ควรใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์หรือระหว่างให้นมบุตรและในเด็ก

2.  ระวังการใช้ยานี้ในคนที่ดื่ม alcohol เป็นประจำ

3.  ถ้ารับประทานยาวันละครั้ง   ควรรับประทานยานั้นในเวลาเย็น  เนื่องจากการสังเคราะห์ cholesterol ของตับในร่างกายจะเป็น diurnal  pattern คือ จะมีการสร้าง cholesterol เข้าสู่กระแสเลือดสูงสุด เวลาประมาณเที่ยงคืน  จึงควรใช้ยานี้ในเวลาเย็น  เพื่อให้เกิด  maximun  effect  ในเวลาที่มีระดับ cholesterol สูงที่สุดในเลือด

4.  ควรตรวจระดับ aminotransferase  activity และระดับ creatine  kinase  ก่อนให้ยา และทุก2-4 เดือน   ขณะรับประทานยาโดยถ้ามีค่ามากกว่าปกติ 3 เท่า  และ2เท่าจากค่าปกติตามลำดับให้หยุดการใช้ยานี้ในทันที  เนื่องจากอาจเกิด hepato  toxicity และ myopathy ได้ตามลำดับ

5.  ควรรับประทานยานี้พร้อมอาหารมิฉะนั้นอาจเกิดผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้

สรุปได้ว่าไม่มีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยรายนี้

2)  ยาตัวอื่นๆ

1.  Nicotinic  acid

                -  มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อทางเดินอาหารมาก  จึงควรรับประทานยาไปพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที

                -  ระมัดระวังในผู้ป่วยโรคตับ  เบาหวานและโรคเก๊าส์

                - ระวังเมื่อใช้กับยาลดความดันโลหิตบางกลุ่มเพราะยาอาจทำให้หลอดเลือดขยายตัวมากขึ้นและเกิด postural  hypotension  มากขึ้น

 

2.  Fibric  acid  derivative

                - ระวังการแพ้ยา

                - อาจพบ GI  disorder เช่น คลื่นไส้อาเจียร  แต่จะหายเองได้

                -  ระวังเมื่อใช้กับยากันเลือดแข็ง พวก coumarin (benzafibrate)

                -  ระวังเมื่อใช้ร่วมกับ  oral  anticoagulant  เนื่องจากยานี้จะไปเพิ่มฤทธิ์ anticoagulant (Gemfibrozil)

3.  Probucol

                -  ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่ QT  interval  ยาวกว่าปกติ  หรือทานยาที่ทำให้QT  interval  ยาวกว่าปกติ  เช่น digitalis , quinidine , erythromycin , etc

                - ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กหรือหญิงมีครรภ์  เนื่องจากมีข้อมูลความปลอดภัยน้อย

4.  bile  acid  resins (cholestylamine)

                - ให้ผสมน้ำกินก่อนทานยา  ห้ามรับประทานในรูปยาผง

                -  อาจเกิด steatorrhea  ถ้าได้รับยาขนาดมาก  เนื่องจากยาไปลดการดูดซึมของไขมัน

                -  ยามีลักษณะเป็นผง  กลิ่นและรสไม่ดี

                -  อาจเกิดอาการทาง GI ได้ เช่น คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องผูกและริดสีดวง  จึงควรดื่มน้ำมากๆ

สรุปว่าไม่มีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยรายนี้ 

3.3                     Adverse  drug  reaction (ADRs)  and  Toxicities  ของยา7(3),21(1),22(2),27(1)

1) Simvastatin

1. เพิ่ม hepatic  transaminase  โดยทั่วไปจะเกิดขึ้น 0.5-2.0%ของ case และเป็นแบบ dose  dependent โดยการเพิ่มของระดับ enzyme นี้  อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับ hepototoxicity

2.  เกิด liver  failure พบได้น้อย

3.  เกิด polyneuropathy พบได้น้อย

4.  เกิด myopathy ได้  สิ่งที่พาผู้ป่วยมาพบแพทย์ คือ เกิด non-specific  muscle  aches  or  joint  pains (ประมาณ 5%)

5.  เพิ่มค่า creatinine  kinase

6.  เกิด severe  myositis  พบได้น้อยโดยจะมีอาการ  muscle  aches , soreness หรือ weakness และจะมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มของค่า creatine  kinase  ซึ่งจะมีโอกาสเป็นมากขึ้นในผู้ป่วยที่มี complex  medical  problem  and/or  taking  multiple  medication เช่น cyclosporine , fibrates , macrolide  antibiotic , certain  antifungal  drugs  and  niacin

สรุป พบว่าการใช้low  dose  simvastatin  จะช่วยลดADR เหล่านี้  รวมทั้ง ADR เหล่านี้ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับยาชนิดอื่น

2)  ยาอื่นๆ

                1. Nicotinic  acid

                        - ในขนาดที่ลดระดับไขมันในเลือดจะทำให้หลอดเลือดบริเวณที่ต่างๆขยายตัว  โดยเฉพาะที่บริเวณหน้าและส่วนบนของร่างกาย  ทำให้เกิด flushing และมีอาการคัน  อาการเหล่านี้จะค่อยๆหายไปได้เมื่อใช้ยาไปสักระยะเวลาหนึ่ง  จากฤทธิ์ข้างเคียงนี้ทำให้ผู้ป่วยไม่ชอบที่จะรับประทานยา  วิธีแก้ไขคือ ให้ผู้ป่วยรับประทานยา aspirin 0.3 กรัม  30 นาทีก่อนรับประทานยา nicotinic  acid  จะช่วยลด flashingได้  ซึ่งเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการสร้างprostaglandins

                        -  มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร  อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเสีย

                        -  hyperpigmentation ผิวแห้ง

                        -  ถ้าได้รับยาขนาดมากอาจทำให้ตับทำงานผิดปกติได้  ทำให้เกิดดีซ่านหรือทำให้ plasma  transaminase มีการทำงานเพิ่มขึ้น

                        -  hyperuricemia  พบได้ร้อยละ 20 ของผู้ป่วยที่รับประทาน nicotinic  acid 

                        -  hyperglycemia  และมี glucose  tolerance  ผิดปกติ

ดังนั้นจึงต้องใช้ยาด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยโรคตับ  เบาหวานและโรคเก๊าท์  นอกจากนี้จะต้องระมัดระวังเมื่อใช้ร่วมกับยาลดความดันโลหิต  เพราะยาอาจทำให้หลอดเลือดขยายตัวมากและเกิด postural  hypotension มากขึ้น

                2.  Fibric  acid  derivative 

                        Bezafibrate

                                - ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร (GI  disorder)  เช่นคลื่นไส้  อาเจียน  มักเกิดขึ้นชั่วคราว  เมื่อใช้ยาไประยะหนึ่งจะหายเอง

                                - กล้ามเนื้ออ่อนแรง  ขนร่วง

                                - potency  disorder

                                - การแพ้ยา

                        Gemfibrozil  Clofibrate

                                -  ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร

                                -  ผื่นที่ผิวหนัง

                                -  ปวดกล้ามเนื้อ

                                -  ภาวะเลือดจางแบบไม่รุนแรง (mild  anemia)

                                -  ทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีในคนไข้ราว 1-1.5 %

                                -  มีผลต่อการทำงานของตับ เช่น ทำให้เอนซัยม์ transaminase  เพิ่มขึ้น

                3.  Probucol

                        -  QT  interval  จะยาวกว่าปกติจึงไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่มีQT  interval ยาวกว่าปกติอยู่แล้ว  หรือผู้ป่วยที่รับประทานยาที่จะมีผลทำให้ QT  interval  ยาวกว่าปกติ  ได้แก่ digitalis , quinidine และ crythromycin

                        -  คลื่นไส้อาเจียร

                4. bile  acid – binding  Resin

                        - ยาพวกนี้มีลักษณะเป็นผง  มีกลิ่นรสไม่ดี  ทำให้เกิดอาการทางระบบทางเดินอาหาร  ได้แก่ คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องผูก  เกิดริดสีดวง  ควรแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ

                        - อาจทำให้plasma  triglyceride  เพิ่มขึ้นได้แบบชั่วคราว  ซึ่งบางครั้งอาจต้องให้ nicotinic  acid ร่วมด้วยเพื่อลดระดับtriglyceride

                        - มักจะทำให้การทำงานของเอนซัมย์ alkaline  phosphatase และ transaminase  เพิ่มขึ้นชั่วคราว

                        - ถ้าได้รับยาขนาดมากจะเกิด steatorrhea เพราะยาไปลดการดูดซึมของไขมัน  จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการขาดวิตามินที่ละลายในไขมัน  ได้แก่ vitamin A , DและK

                        - ยากลุ่มนี้จะจับกับ anionic  drug  ทำให้การดูดซึมของanionic  drug ลดลง ได้แก่ cholorothiazide , phenylbutazone , pentobarbital , anticoagulant , digitalis และ thyroxine  ดังนั้นจึงควรรับประทานยาชนิดอื่นอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนให้ bile  acid  binding  resinหรือหลังจากที่ได้รับ resin แล้ว 4 ชั่วโมง

3.4                     Drug  interactions 2(4),7(3),21(1),28(1)

1)  Simvastatin

        1.  เมื่อใช้ร่วมกับ Cyclosporin  fibric  acid  derivative , erythromycin , nicotinic  acid , Azole  antifungals (Itraconazole , Ketoconazole) ซึ่งเป็นยาที่ metabolized  โดย cytochrome  p450 (3A4  isozyme) เช่นเดียวกับ simvastatin มีผลช่วยเพิ่มปริมาณ simvastatin  ในกระแสเลือด  ทำให้เพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการเกิด severe  rhabdomyolysis  และ myopathy

        2.  เมื่อใช้ร่วมกับ propanolol  จะทำให้ลดค่า maximum  plasma  concentration (C max)

        3.  เมื่อใช้ร่วมกับ digoxin  ในเลือด  ทำให้มีโอกาสเกิด  toxic  จากยาdigoxin ได้ง่ายขึ้น 

        4.  เมื่อใช้ร่วมกับ Warfarin  จะทำให้เพิ่มระดับของ Warfarine ในเลือด  จึงทำให้มีค่า prothrombin  time (PT) เพิ่มขึ้น   อาจเกิด bleeding ได้

        5. เมื่อใช้ร่วมกับ bile  acid  sequestrants  จะทำให้ระดับยา simvastatin ในเลือดมีค่าลดลง   เนื่องจากมีการลดการดูดซึมของยาจากระบบทางเดินอาหาร  จึงควรกินยา simvastatin ก่อนกินยาในกลุ่ม bile  acid , sequestrants

สรุปการใช้ยาในผู้ป่วยรายนี้ใช้ paracetamol และ hydrochlorothiazide  ดังนั้นไม่น่ามี drug  interaction กับ simvastatin

2) ยาอื่นๆ

        Fibric  acid  derivative

                1. Bezafibrate  จะทำให้ฤทธิ์ของยากันเลือดแข็ง  พวกcoumarin ร้อยละ 30-50  หลังจากนั้นต้องปรับขนาดของ coumarin ตาม prothrombin  time

                2. Gemfibrozil , Clofibrate  จะเพิ่มฤทธิ์ของ oral  anticoagulant โดยไปแทนที่ oral  anticoagulant จาก albumin  binding  site ถ้าใช้ยาร่วมกันจะต้องลดขนาดของ anticoagulant ลงเพื่อป้องกันการได้รับยามากเกินขนาด             

3.5                     Risk/Benefit ของยา simvastatine 7(3),25(1),27(2)

จะเห็นได้ว่าความเสี่ยงจากการใช้ยานี้กับผู้ป่วยคุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้รับ  โดยจากข้อมูลข้างต้นยานี้มีผลดีอย่างมากกับการลดระดับ LDL-C และ cholesterol ในเลือดร่วมทั้งยังมีผลช่วยลด morbility  และ mortality จาก cardiovascular  complication  ต่างๆได้อย่างมาก

หากเปรียบเทียบกับ side  effect  ทางด้านระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้องและท้องอืด   riskที่เกิดจากการใช้ยาทั้งการเกิด hepatotoxicity , liver  failure , polyneuropathy , myopathy , severe  myositis , rhabdomyolysis , myoglobinuria และ acute  renal  necrosis  รวมทั้งการเพิ่มระดับ hepatic  transaminase  มีโอกาสน้อยมาก   หากเราได้ให้ความรู้เกี่ยวกับยาอย่างถูกต้อง   โดยเฉพาะในเรื่อง drug  interaction  โดยพยายามให้หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ร่วมกับยาชนิดอื่นที่ทำให้เกิด drug  interaction และการ monitor  liver  enzyme , muscle  enzyme อย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงจากยาเหล่านี้ลงได้อีก

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานแสดงว่ายาชนิดนี้เหมาะสมที่จะใช้ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีระดับ cholesterol ในเลือดสูง   โดยถือเป็น drug  of  choice

สรุปว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง benefit กับ risk ที่จะเกิดขึ้นแล้วถือว่า risk ที่จะเกิดอยู่ในระดับที่จะยอมรับได้   รวมทั้งยานี้มีความเหมาะสมที่จะใช้ในผู้สูงอายุได้

     3.6 Patient  education  เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา simvastatin 7(3)

1) ควรแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาพร้อมอาหารเย็น  เนื่องจากยานี้จะได้ระดับสูงสุดในร่างกายในเวลาประมาณเที่ยงคืน  ซึ่งเป็นเวลาที่ร่ากายมีระดับcholesterol ในเลือดสูงที่สุด   นอกจากนี้การรับประทานยาร่วมกับอาหารจะช่วยลด  side  effect  ที่จะเกิดกับระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการปวดท้อง  ท้องอืดได้อีกด้วย 

2)  ควรที่จะบอกผู้ป่วยให้มาวัดการทำงานของ enzyme  aminotransferaseก่อนให้ยาและทุกๆ 2 เดือนขณะได้รับยาและควรให้ผู้ป่วยหยุดใช้ยาเมื่อมี aminotransferase  activity เพิ่มสูงมากกว่า 3 เท่าของค่าปกติ   เนื่องจากอาจเกิด hepatotoxicity ได้

3)  ควรแนะนำไม่ให้ผู้ป่วยทานยาชนิดนี้ร่วมกับยาcyclosporine , fibric  acid , crythomycin , nicotinic  acid และยาอื่นๆที่อาจทำให้เกิด drug  interaction รวมทั้งการซื้อยาชนิดอื่นมาทานเองจากร้านขายยา   นอกจากนี้เพื่อป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง   ควรแนะนำให้ผู้ป่วยวัดระดับ creatine  kinase  activity ก่อนให้ยาและทุกๆ 4 เดือนขณะรับประทานยาและควรบอกให้ผู้ป่วยหยุดใช้ยาเมื่อ creatine  kinase มีค่ามากกว่าปกติ 2 เท่า

4) บอกผู้ป่วยไม่ให้กินยาเกินกว่าที่แพทย์สั่งเพราะอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาได้